วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

เรื่องที่สนใจศึกษา ความเชื่อด้านสุขภาพกับ พฤติกรรมในการควบคุมป้องกันไข้เลือดออกของประชาชน

จากการศึกษาสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบผู้ป่วยสูงสุดในปี พ.ศ 2541 โดยมีรายงานผู้ป่วยถึง 127,189ราย คิดเป็นอัตราป่วย 209.14 ต่อประชากรแสนคน และมีอัตราตาย 0.34 ต่อประชากรแสนคน โดยจำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด ในปี พ.ศ.2545 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 6 กรกฎาคม ทั่วประเทศมีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 47,729 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 76.60 ต่อประชากรแสนคน มีผู้ป่วยตายจำนวน 66 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.11 ต่อประชากรแสนคน พบผู้ป่วยสูงสุดในภาคใต้ของประเทศไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 12,354 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 148.64 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วยตาย 23 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.28 ต่อประชากรแสนคน
ในปี 2550 จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ที่มียอดผู้ป่วยสูง โดยมีจำนวนผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2545 ตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง เดือนตุลาคม จำนวน 6,136 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 402.27 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้เสียชีวิตจำนวน 14 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.23 อำเภอปากพนังมีประชากร 115,945 คน พ.ศ. 2545 จำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 116 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 100.04 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต พ.ศ. 2546 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 22 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 18.90 ต่อแสนประชากร และปี พ.ศ. 2547 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิน จำนวน 16 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 13.70 ต่อแสนประชากร พ.ศ. 2548 อำเภอพรหมมีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 53 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 45.71 ต่อแสนประชากร
ผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและความเชื่อด้านสุขภาพจึงได้จัดทำงานวิจัยฉบับนี้ขึ้น เพื่อศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมของประชาชนอำเภอพระพรหมจังหวัดนครศรีธรรมราช ในการควบคุมป้องกันจากโรคไข้เลือดออกและเพื่อการมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกของประชาชน

วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ความรุนแรงของโรค ผลดีของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรค ไข้เลือดออกของประชาชน 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ได้แก่ ลักษณะประชากร สถานภาพทางสังคม และ ความรู้ ประสบการณ์ เรื่องโรค ของประชาชน3.เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน4.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยการรับรู้ ทั้ง 4 ด้าน ปัจจัยกระตุ้น ปัจจัยร่วม และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถนำผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน ปรับปรุงเนื้อหา รูปแบบ กลวิธีต่างๆ ในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนความเชื่อและพฤติกรรมของประชาชน ในพื้นที่ และในชุมชนอื่นต่อไป

สรุปผลการวิจัย
เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ความรู้ การมีประสบการณ์เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคไข้เลือดออก การรับรู้ผลดีของการปฏิบัติในการป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
ส่วนการรับรู้ถึงอุปสรรคในการปฏิบัติในการป้องกันโรคไข้เลือดออกมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ p – value = 0.001